ลักษณะภาษาไทยถิ่นกลาง

บริเวณที่ผู้พูดภาษาไทยถิ่นกลางส่วนใหญ่อาศัยอยู่ คือบริเวณจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลางของประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้

ลักษณะทางเสียงของภาษาไทยถิ่นกลางสามารถสรุปได้ ดังนี้

 

พยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะในภาษาไทยถิ่นกลางมีจำนวนระหว่าง 20 - 21หน่วยเสียง ข้อแตกต่างอยู่ที่หน่วยเสียง / r / "ร " ซึ่งไม่ปรากฏ ในระบบเสียงของผู้พูดภาษาไทยถิ่นนี้บางคน (ดูตาราง)


(หน่วยเสียงที่แสดงโดยใช้สีแดง คือหน่วยเสียงที่ปรากฏเฉพาะในบางภาษาย่อยเท่านั้น)


หน่วยเสียงพยัญชนะทุกหน่วยในตารางข้างต้นสามารถปรากฏเป็นพยัญชนะต้น แต่หน่วยเสียงพยัญชนะบางหน่วยเสียงเท่านั้นที่ ปรากฏเป็น พยัญชนะท้าย ได้แก่ ป, ต, ก, อ, ม, น, ง, ว, ย ส่วนพยัญชนะควบกล้ำในภาษาไทยถิ่นกลางมี 12 เสียง ได้แก่ ปล, (ปร), พล, (พร), ตร, (ทร), กล, (กร), กว, คล, (คร) ,คว พยัญชนะควบกล้ำที่อยู่ในวงเล็บไม่ปรากฏในระบบเสียงของผู้พูดภาษาไทยถิ่นกลางบางคน นอกจากนี้ อาจไม่มีพยัญชนะควบกล้ำ ส่วนที่สองเป็น / l / "ล" หรือ / w / "ว" ในระบบเสียงของผู้พูดภาษาไทยถิ่นนี้บางคนอีกด้วย

 

สระ

หน่วยเสียงสระในภาษาไทยถิ่นกลาง มีสระเดี่ยวเสียงสั้น 9 หน่วยเสียง และสระเดี่ยวเสียงยาว 9 หน่วยเสียง (ดูตาราง)

สระเลื่อนในภาษาไทยถิ่นเหนือได้แก่ เอีย เอือ อัว / ia, , ua/

 

วรรณยุกต์

สำหรับสัทลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทยถิ่นกลางนั้น มีดังนี้

ตัวอย่างเสียงวรรณยุกต์ถิ่นกลาง

[Back to Thai Dialect Page]

This page is maintained by Yuphaphann Hoonchamlong (yui@alpha.tu.ac.th)