ลักษณะภาษาไทยถิ่นเหนือ
บริเวณที่ผู้พูดภาษาไทยถิ่นเหนือส่วนใหญ่อาศัยอยู่ได้แก่บริเวณจังหวัดต่างๆในภาคเหนือของประเทศ ไทย ได้แก่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ และน่าน นอกจากนี้มีผู้พูดภาษาไทยถิ่นเหนืออาศัยอยู่ในบางบริเวณของจังหวัดตาก สุโขทัยและอุตรดิตถ์
ลักษณะทางเสียงของภาษาไทยถิ่นเหนือพอสรุปได้ดังนี้
พยัญชนะ
หน่วยเสียงพยัญชนะในภาษาไทยถิ่นเหนือมีจำนวน 20 - 21หน่วยเสียง (ดูตาราง)
ข้อแตกต่างจากเสียงพยัญชนะถิ่นอื่น ๆ อยู่ที่หน่วยเสียง /ch/ "ช" ซึ่งปรากฏเฉพาะในภาษาของผู้พูดภาษาไทยถิ่นเหนือบางคนเท่านั้น
หน่วยเสียงพยัญชนะทุกหน่วยสามารถปรากฏเป็นพยัญชนะต้น แต่หน่วยเสียงพยัญชนะบางหน่วยเสียงเท่านั้นที่ปรากฏเป็น
พยัญชนะท้าย ได้แก่ ส่วนพยัญชนะควบกล้ำในภาษาไทยถิ่นเหนือมี
11 เสียง ได้แก่ พว ตว จว กว คว
ซว งว ญว ลว ยว อว
สระ
หน่วยเสียงสระในภาษาไทยถิ่นเหนือ มีสระเดี่ยวเสียงสั้น 9 หน่วยเสียง และสระเดี่ยวเสียงยาว 9 หน่วยเสียง (ดูตาราง)
สระเลื่อนในภาษาไทยถิ่นเหนือได้แก่ เอีย
เอือ อัว / ia, (), ua/ เสียงสระ
เอือ /
/ ไม่ปรากฏในภาษาย่อยบาง
ภาษา เช่น ภาษาไทยถิ่นจังหวัดแพร่
วรรณยุกต์
ภาษาย่อยของภาษาไทยถิ่นเหนือมีวรรณยุกต์ที่คล้ายคลึงกันมากกว่าภาษาย่อยของภาษาไทยถิ่นอื่น
ๆ คือ นอกจากภาษาย่อยของ
ภาษาไทยถิ่นเหนือทุกภาษาจะมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ ๖ หน่วยเสียงเท่ากันหมดแล้ว การแยกเสียงวรรณยุกต์ยังเหมือนกันอีกด้วย
นอกจากนี้ลักษณะเด่นของการแยกเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นเหนือได้แก่ การที่มีการแยกเสียงวรรณยุกต์ใน
แถว A ระหว่างช่อง A2 กับ A3 (ดูตาราง)
สำหรับสัทลักษณะของเสียงวรรณยุกต์นั้น
มีดังนี้
ช่อง A1 กับ A2 เป็นเสียง ต่ำ-ระดับ-ขึ้น
ช่อง A3 กับ A4 เป็นเสียงกลาง-ระดับ-ขึ้น หรือ กลาง-ระดับ-ตก
ช่อง B1, B2, และ B3 รวมทั้ง DL1, DL2, และ DL3 เป็นเสียง กลาง-ระดับ หรือ กลางค่อนข้างต่ำ-ระดับ-ตก
ช่อง B4 และ DL4 เป็นเสียงกลาง-ตก หรือ สูง-ตก
ช่อง C1, C2, และ C3 เป็นเสียงกลางค่อนข้างสูง-ระดับ-เสียงกักที่เส้นเสียง
หรือ
กลางค่อนข้างสูง-ระดับ-ตกเล็กน้อย- เสียงกักที่เส้นเสียง
ช่อง C4 เป็นเสียง สูง-ระดับ-ตกถึงต่ำ-เสียงกักที่เส้นเสียง หรือ กลางค่อนข้างสูง-เลื่อนขึ้น-เสียงกักที่เส้นเสียง
แถว DS
ช่อง DS1, DS2, และ DS3 เป็นเสียง กลาง-เลื่อนขึ้น
ช่อง DS4 เป็นเสียง สูง-ระดับ หรือ กลางค่อนข้างสูง-เลื่อนขึ้น
ตัวอย่างเสียงวรรณยุกต์ถิ่นเหนือ
ตารางวรรณยุกต์ในภาษาถิ่นเหนือ (เฉพาะ A B C)
(จาก J.Marvin Brown 1965)
This page is maintained by Yuphaphann Hoonchamlong (yui@alpha.tu.ac.th)