ลักษณะภาษาไทยถิ่นอีสาน

บริเวณที่ผู้พูดภาษาไทยถิ่นอีสานส่วนใหญ่อาศัยอยู่ ได้แก่ บริเวณจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตั้งแต่ บริเวณจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ และนครราชสีมา ไปทางทิศตะวันออกจนจรดชายแดนประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ลักษณะทางเสียงของภาษาไทยถิ่นอีสาน สามารถสรุปได้ดังนี้

 

พยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะในภาษาไทยถิ่นเหนือมีจำนวน 20 - 21หน่วยเสียง (ดูตาราง)


(หน่วยเสียงที่แสดงโดยใช้สีแดง คือหน่วยเสียงที่ปรากฏเฉพาะในบางภาษาย่อยเท่านั้น)


หน่วยเสียงพยัญชนะทุกหน่วยที่แสดงไว้ในตารางที่ปรากฏเป็นพยัญชนะต้น ส่วนพยัญชนะท้ายในภาษาไทยถิ่นอีสาน ได้แก่ ป, ต, ก, อ, ม, น, ง, ว, ย และในภาษาไทยถิ่นนี้ไม่มีพยัญชนะควบกล้ำ โดยคำที่เริ่มต้นด้วยพยัญชนะควบกล้ำใน ภาษาไทยมาตรฐาน จะเริ่มต้นด้วยพยัญชนะเดี่ยวในภาษาไทยถิ่นอีสาน และมีข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ คำที่เริ่มต้นด้วย พยัญชนะควบกล้ำ / kw / "กว" และ / khw / "คว" ตามด้วยสระเดี่ยวในภาษาไทยมาตรฐานจะเริ่มต้นด้วย / k / "ก" และ / kh / "ค" ตามลำดับในภาษาไทยถิ่นอีสาน และสระจะเป็นสระเลื่อนซึ่งเริ่มต้นด้วย / u / เช่น / kwai1 / ในภาษาไทยมาตรฐาน จะเป็น / kuai / ในภาษาไทยถิ่นอีสาน เป็นต้น

 

สระ

หน่วยเสียงสระในภาษาไทยถิ่นอีสาน มีสระเดี่ยวเสียงสั้น 9 หน่วยเสียง และสระเดี่ยวเสียงยาว 9 หน่วยเสียง (ดูตาราง)

สระเลื่อนในภาษาไทยถิ่นอีสาน ได้แก่ เอีย เอือ อัว / ia, (), ua/ โดยในภาษาย่อยบางภาษาไม่ปรากฏเสียงสระ เอือ / /

 

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นอีสาน มีจำนวนระหว่าง 4 - 7 หน่วยเสียง โดยมีลักษณะการแยกเสียงวรรณยุกต์ดังตารางนี้

หมายเหตุ  เส้น แสดงการแยกเสียงวรรณยุกต์ที่ปรากฏในภาษาย่อยทุกภาษาของภาษาไทยถิ่นอีสาน
            เส้น แสดงการแยกเสียงวรรณยุกต์ที่ปรากฏในภาษาย่อยบางภาษาของภาษาไทยถิ่นอีสาน

 

ลักษณะเด่นของการแยกเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นอีสาน คือ

  1. เสียงวรรณยุกต์ในช่อง C1 DL1 DL2 และ DL3 เป็นเสียงเดียวกัน
  2. เสียงวรรณยุกต์ในช่อง C2 C3 C4 และ DL4 เป็นเสียงเดียวกัน

ในภาษาย่อยส่วนมาก เสียงวรรณยุกต์ในช่อง B1 B2 B3 และ B4 เป็นเสียงเดียวกัน ภาษาย่อยบางภาษาเท่านั้นที่มีการแยกเสียง วรรณยุกต์ระหว่างช่อง B3 กับ B4 เช่น ในภาษาไทยถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นต้น

สำหรับในแถว A นั้น ในภาษาย่อยบางภาษามีการแยกเสียงวรรณยุกต์ทั้งระหว่างช่อง A1 กับ A2 และระหว่างช่อง A3 กับ A4 ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นจังหวัดขอนแก่น ภาษาไทยถิ่นจังหวัดหนองคาย เป็นต้น แต่ในภาษาย่อยบางภาษาก็มีการแยกเสียงวรรณยุกต์เฉพาะ ระหว่างช่อง A1 กับ A2 เท่านั้น ได้แก่ภาษาไทยถิ่นจังหวัดเลย ภาษาไทยถิ่นจังหวัดศีรษะเกษ เป็นต้น และในภาษาย่อยบางภาษา ก็มีการแยกเสียงวรรณยุกต์เฉพาะระหว่างช่อง A3 กับ A4 ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น

ในแถว DS มีการแยกเสียงวรรณยุกต์ระหว่างช่อง DS3 กับ DS4 เพียงแห่งเดียวในภาษาย่อยทุกภาษา

ในส่วนของสัทลักษณะของเสียงวรรณยุกต์นั้น มีรายละเอียด ดังนี้


[Back to Thai Dialect Page]

This page is maintained by Yuphaphann Hoonchamlong (yui@alpha.tu.ac.th)