ลักษณะภาษาไทยถิ่นใต้
บริเวณที่ผู้พูดภาษาไทยถิ่นใต้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ ได้แก่ บริเวณจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรื่อยลงไปจนถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย ลักษณะทางเสียงของภาษาไทยถิ่นใต้พอสรุปได้ดังนี้
พยัญชนะ
หน่วยเสียงพยัญชนะในภาษาไทยถิ่นเหนือมีจำนวน 20 - 23 หน่วยเสียง (ดูตาราง)
(หน่วยเสียงที่แสดงโดยใช้สีแดง คือหน่วยเสียงที่ปรากฏเฉพาะในบางภาษาย่อยเท่านั้น)
หน่วยเสียงพยัญชนะทุกหน่วยที่แสดงไว้ในตารางที่ปรากฏเป็นพยัญชนะต้น
ยกเว้นหน่วยเสียง / / "ง"
ที่ไม่ปรากฏเป็นพยัญชนะต้น ในบางภาษาย่อย ส่วนพยัญชนะท้ายในภาษาไทยถิ่นใต้ ได้แก่
ป, ต, ก, อ, ม, น, ง, ว, ย
ข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับ พยัญชนะท้ายในภาษาไทยถิ่นใต้ได้แก่การที่ / k / "ก"
ไม่ปรากฏตามหลังสระเสียงยาว คำทั้งหลายในภาษาไทยมาตรฐานที่จบลงด้วย / k / ตามหลังสระเสียงยาว
มักจะจบลงด้วย / ? / ในภาษาไทยถิ่นใต้
พยัญชนะควบกล้ำในภาษาไทยถิ่นใต้ มีทั้งหมด
5 - 11 หน่วยเสียงได้แก่ ปล, (ปร), พล, (พร),
(ตร), กล, คล, (คร),
คว, (มล), (มร) โดยหน่วยเสียงพยัญชนะที่ใส่ไว้ในวงเล็บคือ
หน่วยเสียงที่ปรากฏใน ภาษาย่อยบางภาษาเท่านั้น
สระ
หน่วยเสียงสระในภาษาไทยถิ่นใต้ มีสระเดี่ยวเสียงยาวจำนวน 9 หน่วยเสียง (ดูตาราง)
และสระเดี่ยวเสียงสั้นจำนวน 7 - 9 หน่วยเสียง (ดูตาราง)
(หน่วยเสียงที่แสดงโดยใช้สีแดง คือหน่วยเสียงที่ปรากฏเฉพาะในบางภาษาย่อยเท่านั้น)
ส่วนสระเลื่อนในภาษาไทยถิ่นใต้มี 3 หน่วยเสียง
ได้แก่ เอีย เอือ อัว / ia, (),
ua/
วรรณยุกต์
วรรณยุกต์ในภาษาย่อยส่วนมากของภาษาไทยถิ่นใต้ มีจำนวนระหว่าง 5 - 7 หน่วยเสียง มีภาษาย่อยบางภาษาของภาษาไทยถิ่นใต้ที่มี วรรณยุกต์เพียง 3 - 4 หน่วยเสียง ภาษาย่อยเหล่านี้ใช้พูดกันในบริเวณอำเภอทับสะแกและอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
การแยกเสียงวรรณยุกต์ไทยถิ่นใต้มีแบบใหญ่ ๆ อยู่ 2 แบบ ดังนี้
การแยกเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นใต้ แบบที่ 1
การแยกเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นใต้ แบบที่ 2
หมายเหตุ เส้น
แสดงการแยกเสียงวรรณยุกต์ที่ปรากฏในภาษาย่อยทุกภาษาของภาษาไทยถิ่นใต้
เส้น แสดงการแยกเสียงวรรณยุกต์ที่ปรากฏในภาษาย่อยบางภาษาของภาษาไทยถิ่นใต้
นอกจากนี้ สำหรับภาษาไทยถิ่นที่พูดกันที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสนั้น มีการแยกเสียงวรรณยุกต์ในลักษณะที่แปลกออกไป
โดย นักภาษาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่าภาษาไทยถิ่นที่อำเภอตากใบนี้มีความเป็นมาอย่างไร
และควรจัดไว้ในกลุ่มใด (ดูตาราง)
การแยกเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นใต้ที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ลักษณะเด่นของภาษาไทยถิ่นใต้ในเรื่องของการแยกเสียงวรรณยุกต์ ได้แก่การที่เสียงวรรณยุกต์
A1 กับ B1 จะเป็นเสียงเดียวกัน เสมอ ยกเว้นภาษาไทยถิ่นที่พูดกันที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส สำหรับภาษาย่อยที่พูดกันที่จังหวัดชุมพรและที่จังหวัดประจวบคีรี-
ขันธ์ตอนใต้ เสียงวรรณยุกต์ของช่อง B2 กับ B3 จะเป็นเสียงเดียวกันกับเสียงวรรณยุกต์ของช่อง
A1 และ B1 ด้วย
นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปรในเรื่องของการแยกเสียงวรรณยุกต์แล้ว ภาษาย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้ยังมีการเปลี่ยนแปรในเรื่องของ สัทลักษณะของเสียงวรรณยุกต์อยู่บ้าง แต่การเปลี่ยนแปรมักจะเป็นเรื่องของการขึ้นลงของระดับเสียง คือในบางภาษาย่อย เสียง- วรรณยุกต์เป็นเสียงระดับ ขณะที่บางภาษาย่อยเป็นเสียงระดับ-ขึ้น เสียงระดับ-ลง หรือเสียงขึ้น-ลง
เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับสัทลักษณะในภาษาไทยถิ่นใต้คือ สัทลักษณะมีการเปลี่ยนแปรน้อยมากในเรื่องของระดับเสียง เสียงวรรณยุกต์ ที่ปรากฏในแถวที่ 1 คือ แถวบนสุดของกล่องวรรณยุกต์มักจะมีระดับเสียงสูง ส่วนที่ปรากฏในแถวที่ 2 และ 3 มักจะมีระดับเสียงกลาง และที่ปรากฏในแถวที่ 4 มักจะมีระดับเสียงต่ำ ถึงแม้จะมีกรณีของเสียงวรรณยุกต์ที่ไม่มีสัทลักษณะเช่นนี้อยู่ แต่ก็มีเสียงวรรณยุกต์ ที่มีลักษณะดังกล่าวมากจนเป็นที่น่าสังเกต
ตัวอย่างเสียงวรรณยุกต์ถิ่นใต้This page is maintained by Yuphaphann Hoonchamlong (yui@alpha.tu.ac.th)